ICT Evolution in Education - 24 มิ.ย. – 7 ก.ค 2556
GROUP SEARCH & DISCUSSION 1
Date - Time 4/07/2556
M-Learning: The Future of Training Technology
M – Learning คือ
การเรียนรู้โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เชื่อมต่อกับข้อมูลแบบไร้สาย
ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย
และมีหลายบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ออกมาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ 3 กลุ่มใหญ่ หรือจะเรียกว่า 3Ps
1.PDAs (Personal Digital
Assistant) คือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กหรือขนาดประมาณฝ่ามือ
ที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ Pocket PC กับ Palm เครื่องมือสื่อสารในกลุ่มนี้ยังรวมถึง PDA Phone ซึ่งเป็นเครื่อง
PDA ที่มีโทรศัพท์ในตัว สามารถใช้งานการควบคุมด้วย Stylus
เหมือนกับ PDA ทุกประการ
นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น lap top, Note
book และ Tablet PC อีกด้วย
2.Smart Phones คือโทรศัพท์มือถือ ที่บรรจุเอาหน้าที่ของ PDA เข้าไปด้วยเพียงแต่ไม่มี
Stylus แต่สามารถลงโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือนกับ PDA และ PDA phone ได้
ข้อดีของอุปกรณ์กลุ่มนี้คือมีขนาดเล็กพกพาสะดวกประหยัดไฟ และราคาไม่แพงมากนัก
คำว่าโทรศัพท์มือถือ ตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า hand phone ซึ่งใช้คำนี้แพร่หลายใน
Asia Pacific ส่วนในอเมริกา นิยมเรียกว่า Cell Phone ซึ่งย่อมาจาก Cellular telephone ส่วนประเทศอื่นๆ
นิยมเรียกว่า Mobile Phone
3.iPod เครื่องเล่น
MP3 จากค่ายอื่นๆ และเครื่องที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน
คือ เครื่องเสียงแบบพกพก iPod คือชื่อรุ่นของสินค้าหมวดหนึ่งของบริษัท
Apple Computer, Inc ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช iPod
และเครื่องเล่น MP3
นับเป็นเครื่องเสียงแบบพกพาที่สามารถรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยการต่อสาย USB
หรือ รับด้วยสัญญาณ Blue tooth สำหรับรุ่นใหม่ๆ
มีฮาร์ดดิสก์จุได้ถึง 60 GB. และมีช่อง Video out และมีเกมส์ให้เลือกเล่นได้อีกด้วย
กระบวนการเรียนรู้ของ M-Learning ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1
ผู้เรียนมีความพร้อม และเครื่องมือ
ขั้นที่ 2
เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และพบเนื้อหาการเรียนที่ต้องการ
ขั้นที่ 3
หากพบเนื้อหาจะไปยังขั้นที่ 4
แต่ถ้าไม่พบจะกลับเข้าสู่ขั้นที่ 2
ขั้นที่ 4
ดำเนินการเรียนรู้ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในเครือข่าย
ขั้นที่ 5
ได้ผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
จากคำอธิบายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า
M-Learning นั้นเกิดขึ้นได้โดยไร้ข้อจำกัด ด้านเวลา และสถานที่
ที่สำคัญขอเพียงแต่ผู้เรียนมีความพร้อมและเครื่องมือ อีกทั้งเครือข่ายมีเนื้อหาที่ต้องการ
จึงจะเกิดการเรียนรู้ขึ้น แล้วจะได้ผลการเรียนรู้ที่ปรารถนา
หากขาดเนื้อหาในการเรียนรู้ กระบวนการดังกล่าวจะกลายเป็นเพียงการสื่อสาร
กับเครือข่ายไร้สายนั่นเอง จึงอาจจะเป็นพันธกิจใหม่ของนักการศึกษา นักวิชาการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตบทเรียนสำหรับ M-Learning ที่ควรจะเร่งดำเนินการออกแบบ พัฒนา ผลิต
และกระจายสื่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนด้วย M-Learning
ข้อดี-ข้อด้อยของ
M-Learning
แม้ M-Learning
ได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในช่วง ปี 1995-2000 (Keegan, 2006) เนื่องจากมีปริมาณการพัฒนา E-Learning ในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างมากในช่วงดังกล่าว
พร้อมกับเป็นช่วงที่เทคโนโลยีไร้สายมีการเติบโตอย่างมาก
และคาดว่าเทคโนโลยีไร้สายเหล่านี้จะมาแทนที่การเชื่อมต่อด้วยสายต่างๆ ในที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการคาดคะเนอีกว่าผู้คนส่วนมากจะรับสื่อจากคอมพิวเตอร์ไร้สายมากกว่าอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบเดิมเสียอีก
ด้วยศักยภาพของสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร M-Learning จึงเป็นประเด็นที่ถูกนำมาอภิปรายในเว็บไซต์อย่างแพร่หลาย
เก็ดส์ (Geddes, 2006) ได้ทำการศึกษาประโยชน์ของ M-Learning และสรุปว่าประโยชน์ที่ชัดเจนอย่างยิ่งนั้นสามารถจัดได้เป็น
4 หมวด คือ
1 . การเข้าถึงข้อมูล (Access) ได้ทุกที่ ทุกเวลา
2. สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Context)
เพราะ M-Learning ช่วยให้การเรียนรู้จากสถานที่ใดก็ตามที่มีความต้องการเรียนรู้
ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารกับแหล่งข้อมูล และผู้สอนในการเรียนจากสิ่งต่างๆ เช่น
ในพิพิธภัณฑ์ที่ผู้เรียนแต่ละคนมีเครื่องมือสื่อสารติดต่อกับวิทยากรหรือผู้สอนได้ตลอดเวลา
3. การร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา
4. ทำให้ผู้เรียนสนใจมากขึ้น (Appeal)
โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น เช่น
นักศึกษาที่ไม่ค่อยสนใจเรียนในห้องเรียน แต่อยากจะเรียนด้วยตนเองมากขึ้นด้วย M-Learning
ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษาที่วิทยาลัยการอุดมศึกษานิวแมน
ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ (Newman College Higher
Education in Birmingham, 2006) ซึ่งสร้างเว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับ
M-Learning และได้รวบรวมข้อดี-ข้อด้อยของ M-Learning
ไว้ซึ่งสามารถสรุปโดยสังเขปดังต่อไปนี้
ข้อดีของ M-Learning
1.มีความเป็นส่วนตัว
และอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ และรับรู้
2.ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่
เพิ่มความเป็นไปได้ในการเรียนรู้
3.มีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้มากขึ้น
4.ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง
ด้วยเทคโนโลยีของ M-Learning ทำให้เปลี่ยนสภาพการเรียนจากที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
ไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เรียน
จึงเป็นการส่งเสริมให้มีการสื่อสารกับเพื่อนและผู้สอนมากขึ้น สามารถรับข้อมูลที่ไม่มีการระบุชื่อได้
ซึ่งทำให้ผู้เรียนที่ไม่มั่นใจกล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถส่งข้อมูลไปยังผู้สอนได้
อีกทั้งกระจายซอฟต์แวร์ไปยังผู้เรียนทุกคนได้
ทำให้ผู้เรียนทุกคนมีซอฟต์แวร์รุ่นเดียวกันเร็วกว่าการโทรศัพท์ หรืออีเมล
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
เครื่อง PDA
หรือโทรศัพท์มือถือที่ใช้สำหรับ M-Learning
นั้น ช่วยลดความแตกต่างทาง Digital
เนื่องจากราคาเครื่องถูกกว่าคอมพิวเตอร์ สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพทั้งในสภาพแวดล้อมทางการเรียนและการทำงานเครื่องประเภทพกพาต่างๆ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นทางการเรียนและมีความรับผิดชอบต่อการเรียนด้วยตนเอง
นอกจากนี้ความสำเร็จ
และความนิยมของ Mobile Learning ในอนาคตที่จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นั้น ขึ้นอยู่กับ เทคโนโลยีต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนด้วย ยกตัวอย่างเช่น การมี Browser
ที่เหมาะสมกับ Mobile Device ดังที่ค่าย Nokia
ได้ออก S60 ซึ่งเป็น Browser ที่ย่อขนาดของเว็บไซต์ปกติ (Scaling down the page) ให้แสดงผลได้อย่างดีบนหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้
ส่วน Browser ตระกูล Opera จากประเทศนอร์เวย์นั้นก็มี
Small Screen Rendering ซึ่งช่วยจัดเอกสารบนหน้าเว็บให้เหมาะกับขนาดของจอบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาอีกเช่นกัน
(Greene, 2006)
ข้อด้อยของ
M-Learning
1.ขนาดของความจุ Memory และขนาดหน้าจอที่จำกัดอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่านข้อมูล
2.แป้นกดตัวอักษรไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
อีกทั้งเครื่องยังขาดมาตรฐาน ที่ต้องคำนึงถึงเมื่อออกแบบสื่อ เช่น ขนาดหน้าจอ
แบบของหน้าจอ ที่บางรุ่นเป็นแนวตั้ง บางรุ่นเป็นแนวนอน
3.การเชื่อมต่อกับเครือข่าย
ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง และคุณภาพอาจจะยังไม่น่าพอใจนัก
4.ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไป
ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์แบบพกพาได้
5.ราคาเครื่องใหม่รุ่นที่ดี ยังแพงอยู่
อีกทั้งอาจจะถูกขโมยได้ง่าย ความแข็งแรงของเครื่องยังเทียบไม่ได้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ อัพเกรดยาก
และเครื่องบางรุ่นก็มีศักยภาพจำกัด
6.การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ขาดมาตรฐานของการผลิตสื่อเพื่อ M-Learning
7.ตลาดของเครื่องโทรศัพท์มือถือมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้สามารถตกรุ่นอย่างรวดเร็ว
8.เมื่อมีผู้ใช้เครือข่ายไร้สายมากขึ้น
ทำให้การรับส่งสัญญาณช้าลง
9.ยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล
นอกจากนี้ คีออท (Keough, 2005) ยังได้ระบุข้อด้อยที่สำคัญของ M-Learning อีกด้วยนั่นคือ
M-Learning ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่อง และการส่งสัญญาณ
สรุป
M-Learning กำลังก้าวเข้ามาเป็นการเรียนรู้คู่กับสังคมอย่างแท้จริง
เนื่องจากความเป็นอิสระของเครือข่ายไร้สาย ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
อีกทั้งจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญยิ่งของ M-Learning
นั้นอยู่ที่การเรียนรู้
และการมุ่งพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง
No comments:
Post a Comment